สถานการณ์ การระบาดของ ไวรัส โควิด-19 ดูเหมือนจะยืดเยื้อ ยาวนานกว่าที่เราคิด จนงานนี้ ทำให้ คนวงการหมอลำตกงาน กันระนาว เลยที่เดียว บางคณะ ก็ถึงกับต้อง ยุบวงไปเลย ก็มี แต่ก็มีอีกหลายๆคณะ ที่ปรับตัว หารายได้ จากหลายๆทาง เพื่อมาจุนเจือ กับคณะ ให้ยังคงอยู่รอด ต่อไปได้
ธุรกิจหมอลำอีสาน กว่า 100 วง รับพิษโควิด-19 มาเต็มๆ ตกงานกัน กว่า 4,000 คน งานถูกยกเลิกทั้งหมด รายได้เป็นศูนย์ ต้องกู้เงินแบงก์ประคองธุรกิจ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ถือเป็นช่วงพีกสุดของการว่าจ้างสูญรายได้มหาศาล ด้านนายกสมาคมหมอลำจังหวัดขอนแก่นชี้คนตกงาน 100% นับพันคน ด้าน “คณะหมอลำเรื่องต่อกลอนวงใหญ่” งานหายตลอดทั้งปี วอนรัฐบาลดูแลให้ทั่วถึง ชี้งานแสดงในอนาคตคงเปลี่ยนไปมาก ไม่ว่าผู้ว่าจ้าง-ผู้แสดงต่างต้องปรับตัว เพราะการจัดงานถือเป็นการรวมตัวของคนหมู่มาก

นางราตรี ศรีวิไล นายกสมาคมหมอลำจังหวัดขอนแก่น เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวงการศิลปินหมอลำได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 ประเด็นหลักที่ได้รับผลกระทบที่สุด การระบาดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่หมอลำรับงานมากที่สุดในรอบปีหรือเรียกว่าช่วงกอบโกย บางคนรับงานไว้นอกจากถูกยกเลิก ถูกเรียกคืนเงินมัดจำจากเจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างด้วย เป็นผลกระทบในวงกว้างที่รุนแรงมากจนไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบได้ ยิ่งคณะหมอลำวงใหญ่ยิ่งเกิดความเสียหายมาก
โดยหมอลำเรื่องต่อกลอนส่วนใหญ่มีสมาชิกประมาณ 200-300 คน ปกติราคาสูงสุดในการจ้างต่องานเฉลี่ย 170,000-300,000 บาท ราคามัดจำอยู่ที่ 50,000-100,000 บาท/งาน หรือประมาณ 30% ส่วนหมอลำกลอนหรือคณะลำกลอนประยุกต์ประมาณ 10 คน ราคาค่าจ้าง 40,000-60,000 บาท/งาน จะมีเงินมัดจำ 30%
ถ้าไม่มีงานแสดงคือไม่มีรายรับ เป็นลักษณะอาชีพรายวัน ไม่มีเงินสำรอง ทำให้กลายเป็นคนตกงานทั้งหมด 100% ขณะที่เงินมัดจำที่ผู้ว่าจ้างจ่ายมัดจำจะรวมทั้งค่าเครื่องเสียงเวที หมอแคน รายจ่ายนั้นเจ้าภาพบางรายขอเอาคืนทั้งหมด
“ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอาชีพหมอลำรวมทั้งภาคอีสานคงประเมินได้ยาก เฉพาะจังหวัดขอนแก่นที่มีหมอลำมากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน หมอลำเรื่องต่อกลอนที่มีชื่อเสียงจนถึงปานกลางประมาณ 10 วง รวมคนตกงานไม่ต่ำกว่า 3,000 คน
ส่วนหมอลำกลอนประยุกต์วงละ 10 คน ตกงานเกือบ 100 วง ทุกคนออกงานไม่ได้เลย รายได้ที่จะรองรับอย่างอื่นก็ไม่มี แม้บางคนจะมีไร่นาแต่ช่วงนี้ไม่ใช่ฤดูทำนา ที่สำคัญในสถานการณ์เช่นนี้ก็ออกจากบ้านไปหางานทำไม่ได้ เงินเยียวยาที่ได้จากรัฐบาลก็ได้รับกันไม่ถึง 50% ของจำนวนผู้ที่ตกงาน ส่วนคนที่ได้ก็พอประทังชีวิต”
สำหรับศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยด้านศิลปกรรมการแสดงพื้นบ้าน (หมอลำ) ห้องเรียนลำฟรี จังหวัดขอนแก่น ปรับตัวให้เรียนทางออนไลน์แทนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นช่องทางการสอนที่ทำมาก่อนจะเกิดการระบาดเชื้อโควิด-19 อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่สามารถนัดผู้เรียนเข้ามาซ้อมที่ศูนย์ได้ เป็นเพียงหลักสูตรการท่องกลอนลำและท่วงทำนองเท่านั้น ในช่วงต้องกักตัวอยู่ที่บ้านนี้จึงถือว่าการท่องกลอนลำดีที่สุด รอให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติจึงจะออกงานและใช้กลอนลำที่ท่องมาไปใช้ในการแสดง
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหมอลำในขณะนี้ยังพออดทนได้บ้าง เพราะบางส่วนกู้เงินเพื่อมาประคองวงในช่วงที่ออกงานไม่ได้ แต่ศิลปินทุกคนทำอะไรไม่ได้มาก ต้องทำใจให้ได้และประหยัดให้มากที่สุดในวิกฤตนี้ หลังโควิด-19 ผ่านไปการจ้างงานคงจะน้อยลง จนเรียกได้ว่าต้องมาเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ทั้งผู้แสดงรวมไปถึงผู้ว่าจ้างต้องปรับตัวใหม่ ถึงรัฐบาลจะผ่อนปรนมาตรการยังต้องคิดระแวงเรื่องการแพร่ระบาดอยู่ เพราะการจัดงานหรือการแสดงแต่ละครั้งจะเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมาก ทั้งคณะหมอลำและกลุ่มผู้ฟัง เป็นเรื่องยากที่จะได้กลับมาแสดงอีกในเร็ววัน
“หากวงการหมอลำกลับมาทำการแสดงได้ในปีหน้าก็คงต้องใช้เวลาฟื้นตัว และคงไม่หรูหราเหมือนเดิม จากผลกระทบราคาจ้างต่องานอาจจะลดลงหรือผู้ว่าจ้างไม่จ้างคณะใหญ่เหมือนเดิม ด้วยทุนว่าจ้างคงน้อยลงจากภาวะเศรษฐกิจ ทุกอย่างจะซบเซาและไม่เหมือนเดิมแล้ว สถานการณ์จะซบเซาไปอีกกี่ปีก็ต้องรอดูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาพรวม ไปถึงกำลังของผู้ว่าจ้าง อยากฝากถึงรัฐบาลว่าอาจจะทำดีที่สุดแล้ว แต่ยังไม่ทั่วถึง ก็อยากให้หันหลังกลับมามองกลุ่มศิลปินหมอลำบ้าง”
ขณะที่ คณะหมอลำ ระเบียบวาทะศิลป์ วงหมอลำที่มีคิวงานจ้างยาวทุกวัน ก็ได้รับผลกระทบโดนยกเลิกงานร่วมเดือนเช่นกัน โดยในเฟซบุ๊ก ระเบียบวาทะศิลป์ แฟนเพจ ได้แถลงการณ์ถึงเหตุการณ์ผลกระทบที่มีต่อวงว่า
“จากการแพร่ระบาดของโรค C0VID -19 ที่ได้ส่งผลกระทบไปหลายประเทศทั่วโลก ทางคณะหมอลำระเบียบวาทะศิลป์ ไม่ได้นิ่งนอนใจ และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ได้มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันขั้นสูงสุด เพื่อความปลอดภัยของทีมงานระเบียบวาทะศิลป์และผู้ชม
อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อในประทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทางคณะหมอลำระเบียบวาทะศิลป์ ยิ่งตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค COVD-19 และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือตามแนวทางรัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยของเราผ่านช่วงเวลานี้ได้โดยเร็ว
ทางคณะหมอลำระเบียบวาทะศิลป์ ขอแจ้งว่าในเบื้องต้นทางเราขอยุติการแสดงเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 – 15 เมษายน 2563 โดยระหว่างนี้ทางคณะหมอลำยังคงรักษามาตรการทำความสะอาดอย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยและความมั่นไจองผู้ชมหมอลำ

ด้าน อุไร ฉิมหลวง หรือ แม่นก-นกน้อย อุไรพร นักร้องลูกทุ่งหมอลำคนดัง หัวหน้างวงดนตรีลูกทุ่งหมอลำ “เสียงอิสาน” หลังออกมาไลฟ์ผ่านเพจ “เสียงอิสาน นกน้อย อุไรพร” ระบายความอัดอั้นตันใจทั้งน้ำตา แจ้งแฟนคลับ
โดยตั้งหัวข้อว่า “วันนี้ไม่มีปาฏิหาริย์” หลังตื่นมารับโทรศัพท์จนหูร้อน เนื่องจากมีเจ้าภาพงานต่างๆ โทรมาขอยกเลิกงานต่อเนื่อง และมีคนที่ตกงานจากที่อื่นโทรมาขอสมัครงาน
แต่หลังจากนั้น แม่นก-นกน้อย อุไรพร ได้ไลฟ์ผ่านเพจ“เสียงอิสาน นกน้อย อุไรพร” อีกครั้ง เพื่อแก้ข่าว หลังมีคนเข้าใจผิดจากการไลฟ์ว่า แม่นกน้อย ติดเชื้อโควิด-19 โดยยืนยันไม่ติดเชื้อ พร้อมปรับตัวขายหนังสือประวัติ 45 ปี วงเสียงอิสาน ,ผลิตภัณฑ์สบู่ และน้ำปลาร้า เพื่อสร้างรายได้เสริม และพยุงคณะให้ผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปให้ได้

ทางด้าน ดาวตลกหมอลำ ที่วงนั้นต้องยุบลงชั่วคราว เพราะพิษโควิด ก็ได้ผันตัวมาเป็นแม่ค้า ขายไข่ โดย แต่งกายด้วยชุดหมอลำ ขี่จยย.พ่วงข้างมาตั้งเต็นท์ขายไข่ไก่อยู่ที่บริเวณใต้ต้นโพธิ์ ที่ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ พร้อมทั้งมีกลยุทธ์
ด้วยลีลาท่าเต้น ฟ้อนรำ ร้องเพลง เรียกลูกค้า ตามแบบต้นฉบับหมอลำที่อ่อนช้อยสวยงาม พร้อมติดเครื่องขยายเสียงลำโพงที่รถ เปิดเพลงหมอลำร้อง จนทำให้ยอดขายพุ่ง ขายไข่ได้วันนับร้อยแผงหรือตกประมาณวันละหมื่นกว่าบาทเลยทีเดียว
เชื่อว่าถึง คนวงการหมอลำตกงาน ในช่วงนี้ ก็หวังว่าหลายๆคน จะมีไอเดีย ที่จะหารายได้ในทางอื่นๆ เพื่อเลี้ยงตัวเอง และยิ่งไปกว่านั้นคือคณะหมอลำ ที่จะยังสามารถอยู่ต่อไปได้อีก และกลับมาเฉิดฉาย มอบความสุขให้กับแฟนๆได้อีกครั้งค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม : ROULETTE
อ่านบทความเพิ่มเติม : “หมอลำ” สัญลักษณ์วัฒนธรรมอีสาน ที่ยังมีลมหายใจ